ฝนตกบ่อยแบบนี้ ดูแลน้องแมวยังไงดี
ฝนตกบ่อยแบบนี้ ดูแลน้องแมวยังไงดี

ฝนตกบ่อยแบบนี้ ดูแลน้องแมวยังไงดี

หน้าฝน ส่งผลยังไงต่อน้องแมวบ้าง?

ช่วงฝนฟ้าอากาศไม่เป็นใจแบบนี้ เมื่ออากาศมีความชื้น แล้วน้องแมวอยู่ในที่ที่ฝนสาดถึง หรือมีพฤติกรรมชอบออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านช่วงฝนตก ก็จะเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ ทั้งโรคผิวหนัง และโรคติดต่อจากสัตว์หรือแมลง เรียกได้ว่าได้ความสดชื่นไม่คุ้มเสียเลยล่ะ  

โรคผิวหนังในแมว

จริงๆ แล้วโรคผิวหนังเกิดขึ้นได้ทุกฤดู แต่ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง ทำให้น้องแมวของเราอาจติดเชื้อ เช่น ยีสต์ เชื้อรา แบคทีเรีย ได้ 

ยีสต์ มักก่อโรคในกรณีที่มีปัญหาผิวหนังอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ หรือช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้พบอาการคัน ผิวหนังอักเสบแดง ขนร่วง มีสะเก็ดรังแค อาจเป็นผื่นหนา แข็งตัว

เชื้อรา อาศัยอยู่ตามผิวหนังของน้องแมว โดยเฉพาะน้องแมวที่ขนยาว ขนหนา และยังสามารถติดต่อสู่คนได้ โดยมีอาการในน้องแมวคือเกิดผื่นแดงเป็นวง มีขุยรอบ ลุกลามขยายวงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีอาการคัน เกา 

แบคทีเรีย เมื่อติดเชื้อแล้วอาจติดเชื้ออื่นๆ แทรกซ้อนได้ ทำให้มีอาการคัน ผิวหนังแดง มีตุ่มหนอง สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากภูมิคุ้มกันผิวหนังลดต่ำลง หรือน้องแมวชอบไปอยู่ในที่เปียกชื้น สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความระคายเคือง

เพราะฉะนั้นไม่ควรปล่อยให้น้องแมวตากฝน และดูแลความสะอาด ตัดแต่งขนให้เรียบร้อยในบริเวณอุ้งเท้า หรือหากพบว่าน้องแมวเป็นโรคแล้วควรรีบพาไปรักษาก่อนที่อาการจะลุกลาม และทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ของน้องแมวให้เรียบร้อย

โรคจากเห็บหมัดในแมว

น้องแมวก็มีโอกาสติดเห็บหมัดไม่ต่างกับน้องหมา ซึ่งในช่วงที่ฝนตกบ่อย ก็ทำให้เห็บหมัดมีโอกาสขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จึงทำให้น้องแมวเสี่ยงเจอกับเห็บหมัดได้บ่อยขึ้น เสี่ยงที่จะติดโรคต่างๆ ได้แก่

โรคพยาธิเม็ดเลือด เป็นกลุ่มเชื้อโรคที่แอบอยู่ในเลือดของน้องแมว เห็บหรือหมัดที่มีเชื้อปริมาณมาก การกัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถส่งเชื้อมาสู่น้องแมวได้แล้ว เมื่อน้องป่วยจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ มีจ้ำแดงตามตัว เหงือกซีด หากอาการรุนแรงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

ภาวะภูมิแพ้น้ำลายหมัด ปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง เมื่อหมัดกัดน้องแมว สารในน้ำลายหมัดอาจทำให้น้องแมวเกิดภาวะภูมิแพ้ผิวหนังขึ้นมาได้ ทำให้มีอาการคัน เกาเป็นแผล อาจมีอาการขนร่วงตามมา

โรคพยาธิตืดหมัดหรือพยาธิตืดแตงกวา เกิดขึ้นได้จากหมัดแมว หากติดพยาธิจำนวนไม่มาก อาจไม่แสดงอาการ แต่ในบางตัวอาจมีภาวะขาดสารอาหาร ไถก้น โตช้า อาจมีอาการท้องเสีย สลับกับท้องผูก ขนหยาบสากแห้ง เนื่องจากถูกแย่งสารอาหาร

โรคโลหิตจาง หากเห็บหมัดมีจำนวนมาก น้องแมวก็จะโดนดูดเลือดเป็นอาหารมาก ทำให้เสี่ยงเกิดโรคโลหิตจางได้ ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ซึม เบื่ออาหาร เมื่อสังเกตพบควรรีบพาไปหาสัตวแพทย์

แล้วจะช่วยน้องแมวป้องกันโรคเหล่านี้อย่างไรดีนะ?

รู้แบบนี้แล้ว เข้าหน้าฝนเมื่อไหร่จึงควรต้องใส่ใจดูแลผิวหนังของน้องแมวเป็นพิเศษ รวมถึงการป้องกันเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยากเพราะเห็บหมัดนั้นจำนวนมากจนอาจเล็ดลอดสายตาได้ แต่จริงๆ แล้ววิธีการนั้นง่ายและสะดวกมาก เพียงเลือกหยด FRONTLINE PLUS FOR CAT นวัตกรรมการดูแลเห็บหมัด ที่ออกแบบมาสำหรับแมวโดยเฉพาะ กำจัดเห็บหมัดตัวเต็มวัย ตัวอ่อนและไข่ของหมัด ออกฤทธิ์ยาว 4 สัปดาห์ต่อการหยด 1 หลอด* หากสนใจสามารถหาซื้อ FRONTLINE PLUS FOR CAT ได้ที่ร้านเพ็ทช้อป โรงพยาบาลสัตว์ และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ LINE @frontlineth

*Dryden et al., Efficacy of selamectin and fipronil-(S)-methoprene spot-on formulations applied to cats against adult cat fleas (Ctenocephalides felis), flea eggs, and adult flea emergence. Vet Ther (2007) Winter;8(4):255-62

FLPlus Cat Product 560x490 png

FRONTLINE® PLUS for Cats

Body Copy

ผลิตภัณฑ์หยดหลังสำหรับน้องแมว กำจัด เห็บหมัด ไข่หมัด และ ตัวอ่อนของหมัด แบบตัดวงจร 1 หลอดปกป้องยาวนาน 4 สัปดาห์