5 โรคฮิตหน้าหนาว อาจมาเยือนน้องแมว รู้ก่อน ยิ่งป้องกันได้ก่อน!
ฤดูหนาวมาเยือนพร้อมกับลมเย็นสบาย แต่สำหรับเหล่าทาสแมว อาจไม่ใช่เรื่องน่าสบายใจเท่าไหร่นัก เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงก็มักจะพาเอาโรคภัยไข้เจ็บมาให้น้องแมวตัวน้อยได้ง่ายขึ้น
ในวันนี้ FRONTLINE ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 5 โรคฮิตที่น้องแมวมักจะป่วยเป็นในหน้าหนาว เพื่อให้ทาสแมวทั้งหลายได้เตรียมรับมือ ยิ่งรู้ก่อน ยิ่งดูแลสุขภาพน้องแมวให้แข็งแรงได้ไว
1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจในน้องแมว :
เป็นโรคที่พบบ่อยในน้องแมว โดยเฉพาะในฤดูหนาว โรคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น จมูก คอ และหลอดลม ทำให้น้องแมวมีอาการเจ็บตา มีน้ำมูก หายใจลำบาก แบบเฉียบพลัน หรือมีอาการในระยะยาว
อาการที่พบได้บ่อย : มีไข้ ตัวร้อน ไอจาม มีน้ำมูก มีขี้ตาในปริมาณมาก หรือน้ำตาไหล หายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบ มีแผลในปาก หรือบนลิ้น
วิธีการดูแล : หากน้องแมวยังไม่มีอาการติดเชื้อสามารถพาน้องแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือช่วยลดอาการทางคลินิกได้เมื่อติดเชื้อ และทำความสะอาดที่อยู่ของน้องแมว โดยเฉพาะเปลี่ยนทรายแมวให้สะอาด เพื่อลดเชื้อโรค
แต่ถ้าน้องแมวเริ่มมีอาการ ให้รีบแยกน้องแมวออกจาก แมวตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค และพาน้องแมวไปพบคุณหมอที่คลินิกใกล้บ้านโดยทันที
2. โรคติดเชื้อไข้หัดแมว :
ในช่วงที่อากาศเย็น สิ่งที่น้องแมวต้องระวัง ไม่แพ้เรื่องของเชื้อไข้หวัดที่แพร่มาในอากาศ คือเรื่องความสะอาดของชามข้าว ชามน้ำ ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคไข้หัดแมวนั่นเอง เพราะอากาศที่เย็น และแห้ง จะทำให้เชื้อไวรัสสามารถอยู่ได้นานขึ้นกว่าฤดูอื่น ๆ หากติดเชื้อโรคไข้หัดแมวเข้าไปแล้ว จะส่งผลเสียไปยังระบบทางเดินอาหารของน้องแมว ในแมวบางตัวที่ภูมิคุ้มกันต่ำก็มีโอกาสเสียชีวิตในอัตราที่สูงมาก
อาการที่พบบ่อย : ท้องเสียรุนแรง ถ่ายมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นฉุน มีไข้สูงเฉียบพลัน และปวดเกร็งที่ช่องท้อง
วิธีการดูแล : ในส่วนของน้องที่มีอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ ควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดแมว และควรกระตุ้นภูมิต่อเนื่องทุก ๆ ปี ที่คลีนิกใกล้บ้าน แต่ถ้าน้องแมวติดเชื้อแล้วให้รีบแยกน้องแมวออกจากเพื่อน ๆ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่ได้ง่าย และนำไปพบสัตวแพทย์ในทันที ที่เจออาการ
จากนั้นทาสแมวก็อย่าลืมทำความสะอาด พร้อมฆ่าเชื้อในส่วนของใช้น้องแมว ล้างชามข้าว ชามน้ำ และอบให้แห้งสนิทด้วยความร้อน และเปลี่ยนกระบะทรายใหม่ในทันที เพื่อไม่ให้มีน้องแมวติดเชื้ออีกรอบ หรือไปติดแมวตัวอื่นๆ
3. ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ :
โดยปกติอุณหภูมิร่างกายของน้องแมวจะอยู่ที่ประมาณ 33.5-37.5 องศาเซลเซียส สำหรับโรคนี้มักเกิดขึ้นกับน้องแมวเด็ก เพราะในลูกแมวอายุต่ำกว่า 4 สัปดาห์จะสามารถผลิตความร้อนภายในร่างกายได้ต่ำกว่าแมววัยรุ่นทั่วไป
อาการที่พบได้บ่อย : โดยอาการของโรคนี้จะมีด้วยกัน 3 ระดับความรุนแรง
- ระดับอ่อน อาการที่เจอบ่อย ๆ คือ หนาวสั่น และเซื่องซึม
- ระดับปานกลาง อาการที่เจอบ่อย ๆ คือ กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลึกช้า และมีความดันเลือดต่ำ
- ระดับอันตราย น้องแมวจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส และมีอาการ กล้ามเนื้อกระตุก หนาวสั่น ความดันเลือดต่ำ รูม่านตาขยาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีการดูแล : หลีกเลี่ยงพาน้องแมวเด็ก ไปในที่อากาศลมเย็น หนาว หรือให้น้ำอุ่นเสริมจากชามน้ำปกติก็สามารถช่วยได้ แต่ถ้าน้องแมวเริ่มมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ ให้พาน้องแมวไปพบคุณหมอที่คลินิกใกล้บ้านโดยทันที
4. โรคติดเชื้อจากปรสิต :
อีกหนึ่งโรคในช่วงฤดูหนาวที่น้องแมวต้องระวังให้มากเลย นั่นคือ โรคจากปรสิตทั้งหลาย เพราะปรสิตพวกนี้มีอยู่ทุกที่รอบตัวเรา โดยปรสิตส่วนใหญ่จะมาจากพาหะนำโรคที่น้องแมวพบเจออย่าง หมัด เช่น พยาธิตืดจากหมัด ที่ปรสิตเหล่านี้มีความน่ากลัวไม่แพ้การติดเชื้อโรคอื่น ๆ เพราะเพียงสัมผัสกับ หมัด เพียงแค่ครั้งเดียว ก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว นอกจากนี้ปรสิตชนิดนี้สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้อีกด้วย
อาการที่พบบ่อย : ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักลด หรืออาจพบการคันบริเวณก้นได้
วิธีการดูแล : เริ่มแรกด้วยการดูแลความสะอาดของที่อยู่อาศัยของน้องแมว ล้างชามข้าว ชามน้ำให้สะอาด และหมั่นใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัด เห็บ หมัด ไข่หมัด และตัวอ่อนหมัด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้น้องแมวตกเป็นเป้าของปรสิตตัวร้ายทำลายสุขภาพ
5. โรคพยาธิเม็ดเลือด
ถ้าพูดถึงโรคยอดฮิตในน้องแมว ที่มีความอันตราย โรคพยาธิเม็ดเลือด ต้องติดอยู่ในลิสต์ชัวร์ เพราะโรคพยาธิเม็ดเลือด น้องแมวสามารถติดเชื้อได้ทั้งปี ไม่เว้นแม้แต่ฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย จนทำให้เจ้าของปล่อยชิลล์ ลืมดูแลอย่างเต็มที่ เพราะถ้าน้องแมวโดนกัดเห็บ หมัด กัดแค่ครั้งเดียว ก็ทำให้น้องแมวเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ทันทีแบบไม่รู้ตัว ถ้าหากน้องแมวติดเชื้อโรคพยาธิเม็ดเลือดไปแล้ว จะส่งผลเสียไปยังระบบการไหลเวียนเลือดของน้องแมวจนเจ้าของคาดไม่ถึงเลยล่ะ
อาการที่พบบ่อย : น้องแมวจะซึม เบื่ออาหาร กินน้อย มีอาการเลือดออกตามผิวหนัง มีอาการเหงือกซีด และเม็ดเลือดจาง เพราะพยาธิเม็ดเลือด จะค่อย ๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในตัวน้องแมว จนอาจรุนแรงทำให้น้องแมวเสียชีวิต
วิธีการดูแล : การรักษาโรคพยาธิเม็ดเลือดในน้องแมว จะต้องได้รับการดูแลและรักษาจากสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด หากพบอาการดังกล่าวแนะนำพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
ถึงแม้โรคพยาธิเม็ดเลือด หรือโรคติดเชื้อจากปรสิต จะอันตรายกับน้องแมว แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ถ้าทาสแมวดูแลน้องแมวตั้งแต่วันนี้ด้วยการใช้ ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่มีประสิทธิภาพ ปกป้องน้องแมวก่อนจะเจอความเสี่ยง ขอแนะนำ FRONTLINE PLUS CAT ช่วยตัดวงจรเห็บหมัด กำจัดไข่หมัด ตัวอ่อนหมัดและตัวเต็มวัย ตัวการของโรคติดเชื้อจากปรสิต และ โรคพยาธิเม็ดเลือด FRONTLINE PLUS CAT 1 กล่องบรรจุ 3 หลอด ปกป้องเห็บหมัดได้ยาวนาน 3 เดือน
หากสนใจสามารถหาซื้อ FRONTLINE PLUS CAT ได้ที่ร้านเพ็ทช้อป โรงพยาบาลสัตว์ และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม กดตรงนี้ได้เลยที่ LINE @frontlineth หรือ FANPAGE FRONTLINE