พยาธิเม็ดเลือด โรคร้ายที่ไม่เคยหายไปไหน
โรคบางโรคอาจเงียบหายไปในบางฤดูแต่โรคพยาธิเม็ดเลือดกลับเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ไม่เว้นแม้แต่ช่วงอากาศร้อนๆอย่างช่วงนี้เพราะเห็บที่เป็นพาหะของโรคนั้นค่อนข้างมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงและยังสามารถขยายพันธุ์ได้ดีทำให้มีน้องหมาที่ป่วยเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดอยู่เรื่อยๆ และเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้ดังนั้นจึงไม่อยากให้คนเลี้ยงน้องหมาประมาท ชวนมาเตรียมตัวรับมือไปพร้อมๆ กัน
พยาธิเม็ดเลือดคืออะไร? มาจากไหน?
จริงๆแล้วพยาธิเม็ดเลือดคือกลุ่มเชื้อโรคที่เกิดได้จากเชื้อโรคหลายชนิดมาแอบซ่อนอยู่ในเลือดของน้องหมา แล้วก่อโรค โดยโรคอาจเหมือนหรือคล้ายๆ กัน ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อได้จากปรสิตภายนอก โดยเฉพาะเห็บ หากมีเห็บที่มีเชื้อปริมาณมากมากัดน้องหมาเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้น้องหมาเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดได้แล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจว่าไม่เคยเจอเห็บบนตัวน้องหมาเลยทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้
อาการเมื่อน้องหมาป่วยโรคพยาธิเม็ดเลือดเป็นอย่างไร?
เมื่อพยาธิเม็ดเลือดก่อโรคจะทำให้น้องหมามีอาการซึม กินอาหารน้อยลง อาจตัวร้อน มีไข้ มีจ้ำเลือดออกตามตัว หากเจ้าของสังเกตได้ถึงความผิดปกติ แนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้จนมีอาการตัวเหลือง เหงือกซีด ถ่ายหรืออาเจียนเป็นเลือด เพราะนั่นแสดงถึงอาการที่รุนแรงแล้วและอาจทำให้เสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทัน
เราสามารถป้องกันโรคพยาธิเม็ดเลือดได้ไหม?
วิธีที่แนะนำในการป้องกันโรคพยาธิเม็ดเลือด มีอยู่สองวิธีหลักๆ
1. ลดจำนวนพาหะ กำจัดแหล่งที่อยู่ของเห็บ ด้วยการรักษาความสะอาดบริเวณบ้านอยู่เสมอ หมั่นตรวจตราที่อับชื้น รอยแยกต่างๆ เช่น รอยแยกผนังหรือกระเบื้อง ซอกไม้ ซอกกำแพง
2. ป้องกันที่ตัวน้องหมา อย่างเช่นการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแบบหยด FRONTLINE TRI-ACT เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งนอกจากคุณสมบัติในการไล่และกำจัดยุงเห็บหมัด ที่เป็นศัตรูที่พบได้บ่อยของน้องหมา FRONTLINE TRI-ACT ยังสามารถกำจัดเห็บที่เป็นต้นตอของโรค ทำให้ลดโอกาสเกิดพยาธิเม็ดเลือดได้ถึง 75%*
หากสนใจสามารถหาซื้อ FRONTLINE ได้ที่ร้านเพ็ทช้อป โรงพยาบาลสัตว์ หรือช่องทางออนไลน์ Shopee Lazada หากต้องการหากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ LINE @frontlineth
* Jongejan F. et al. A novel combination of fipronil and permethrin (Frontline Tri-Act®/Frontect®) reduces risk of transmission of Babesia canis by Dermacentor reticulatus and of Ehrlichia canis by Rhipicephalus sanguineus ticks to dogs. Parasites & Vectors (2015) 8:602